เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินเช่น ชั้นวางหนังสือ ตู้เสื้อผ้า เคาน์เตอร์ ชั้นวางของ เป็นต้น และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินถือเป็นทางเลือกการตกแต่งภายในที่ตอบโจทย์ความต้องการของหลายคนได้ดีกว่าเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป หรือแบบลอยตัว ไม่ว่าจะในแง่ของความสวยงาม รูปทรง ดีไซน์ที่ถูกใจกว่า วัสดุ สีพื้นผิวที่เลือกใช้ได้อย่างยืดหยุ่น และขนาดที่สามารถกำหนดให้พอดีกับพื้นที่ส่วนใดของห้อง หรือของบ้านได้มากกว่า ทว่าด้วยข้อดีมากมายดังกล่าวก็ย่อมทำให้ตามมาด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดที่จะตามมาภายหลังการเลิกใช้งานในอนาคต หรือต้องการดัดแปลง ปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยของบ้าน หรือที่อยู่อาศัยนั้นๆที่ได้ทำการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ไว้ ซึ่งหลายคนอาจจะพอทราบในเบื้องต้นกันอยู่แล้วว่าเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระเหมือนกับแบบสำเร็จรูป หรือลอยตัวอย่างเช่น โต๊ะ หรือเก้าอี้ โดยต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญในการช่วยเคลื่อนย้าย หรือถอนการติดตั้ง แต่ก็อาจจะยังไม่ทราบถึงรายละเอียดของข้อจำกัด หรือปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้หลายคนได้ทราบกันชัดเจนขึ้นว่ามีข้อจำกัดใด ปัญหาใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นตามมาและเราต้องเตรียมพร้อมรับมือไว้ เมื่อตัดสินใจเลิกใช้งานเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินชิ้นต่างๆ ไปแล้ว
ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน สิ่งแรกที่จะต้องตามมาแน่ๆ เมื่อเราเลิกใช้งานเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินชิ้นใดๆ แล้วก็คือ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนออกนั่นเอง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วผู้อยู่อาศัยอย่างเราๆ ที่ไม่ได้มีความชำนาญเกี่ยวกับงานช่างมักไม่สามารถทำการรื้อถอนได้ด้วยตัวเอง หรือในบางกรณีที่เจ้าของบ้าน ผู้อยู่อาศัยสามารถรื้อถอนเองได้ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์นั้นๆ ออกอยู่ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเรทราคารับงานรื้อถอนจากบริษัทรับตกแต่ง หรือบริษัทรับเหมาก็จะอยู่ที่ปริมาณ 1,500 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดเฟอร์นิเจอร์ ขนาดพื้นที่ และความยากง่ายในการรื้อถอนหน้างานนั่นเอง
ปัญหาผนังเสียหาย ชำรุด ปัญหายอดฮิตนึงที่มักตามมาหลังงานรื้อถอนก็ถือปัญหาผนังชำรุด เสียหายนั่นเอง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการบิวท์อินเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใดๆ มักทำให้แนบสนิทกับผนัง มีการยึดตัวเฟอร์นิเจอร์ให้ติดแน่นไว้โดยใช้น็อต ตะปู หรือหมุดยึดใดๆ ตามเทคนิคการต่อเติมของบริษัทผู้ผลิต ดังนั้นเมื่อทำการรื้อถอนก็ย่อมเลี่ยงความเสี่ยงที่ผนังจะชำรุด เสียหายไม่ได้ แม้ว่าในบางกรณีอาจทำการรื้อถอนได้โดยไม่สร้างความชำรุดเสียหายแก่ผนัง แต่ก็ควรเผื่อค่าใช้จ่ายอีกส่วนไว้สำหรับซ่อมแซมผนังเบื้องต้น เช่น การปะโป๊ะเฉพาะจุด การทาสีใหม่ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นการซ่อมแซมโดยจ้างช่าง ก็อาจเสียค่าจ้างรายวัน ประมาณ 500 บาท บวกกับค่าอุปกรณ์ วัสดุในการซ่อมแซมอีกประมาณ 1,000 – 1,500 บาท รวมแล้วก็ควรมีงบเผื่อในการซ่อมแซมผนังประมาณ 2,000 บาท นั่นเอง
การนำเฟอร์นิเจอร์กลับมาใช้ซ้ำ บ่อยครั้งที่ผู้รื้อถอนเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินชิ้นใดๆ คาดหวังในการนำตัวเฟอร์นิเจอร์ หรือวัสดุที่ทำการบิวท์อินลงไปกลับมาใช้ซ้ำ ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ของตกแต่งชิ้นใหม่ แต่ทว่าในการความเป็นจริงความแน่นหนาในการติดตั้งมักส่งผลต่อสภาพวัสดุเมื่อทำการรื้อถอนออก ว่ากันง่ายๆก็คือวัสดุอาจเสี่ยงแตกหักระหว่างการรื้อถอนได้ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการบิวท์อินไว้เป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว แม้ว่าขณะที่เราใช้งานเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ อยู่จะไม่ได้รับรู้ถึงความชำรุด เสียหายใดๆ แต่สภาพวัสดุหลังจากเรื้อถอนออกมาและถูกแยกชิ้นส่วนจากเค้าโครงที่ประกอบไว้นั้นย่อมแตกต่างออกไป และดูไม่มั่นคงแข็งแรงเหมือนเดิม ดังนั้นใครที่แพลนทำเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ด้วยวัสดุจากงานบิวท์อินเดิมที่จะรื้อถอนออก อาจจะต้องเผื่อใจรับความเสี่ยงส่วนนี้ไว้ด้วย โดยไม่ควรประเมินว่าสามารถนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้งานได้เต็ม 100% ทุกชิ้น